“ไอพี สตรีมมิ่ง” เพื่อการรับชมทีวีทุกที่ ทุกเวลา : เทรนด์ใหม่สำหรับนักบริโภคข่าวสาร
ในยุคที่ผู้คนต้องการบริโภคข่าวสารและความบันเทิงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง อินเทอร์เน็ตจึงกลายเป็นช่องทางสำคัญในกระจายข่าวสารไปสู่คนจำนวนมาก หลายครั้งที่เราต้องพลาดเหตุการณ์สำคัญๆที่เกิดขึ้น เนื่องจากต้องออกไปทำธุระนอกบ้าน หรือรถติดอยู่บนท้องถนนเป็นเวลานาน ด้วยเหตุนี้ผู้พัฒนาเทคโนโลยีจึงนำเอาเทคโนโลยี ไอพี สตรีมมิ่ง (IP Streaming) เข้ามาใช้รองรับความต้องการของผู้บริโภคเพื่อการรับชมทีวีได้สะดวก ทุกที่ ทุกเวลาตามไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ซึ่งบริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมชั้นนำของเมืองไทยได้เล็งเห็นถึงการเติบโตของเทคโนโลยีนี้ว่าจะเป็นไปในทางบวก เหตุเพราะผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์มากมายจากบริการไอพี สตรีมมิ่งในอนาคต อันจะส่งผลให้เกิดการลงทุนพัฒนายิ่งขึ้นไป จึงได้จับมือกับบริษัท พีเอสไอ บรอดคาสติ้ง จำกัด หรือ พีเอสไอ ร่วมเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการระบบไอพี สตรีมมิ่งคุณภาพในขณะนี้
ถ้าจะอธิบายให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ไอพี สตรีมมิ่ง (IP Streaming) หรือ Internet Protocol Streaming เป็นเทคโนโลยีการส่งข้อมูลภาพและเสียงผ่านเว็บบราวเซอร์ในระบบอินเทอร์เน็ต ต่างจากระบบอนาล็อกเดิม ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมจากที่หนึ่งกระจายสู่ผู้รับจำนวนหลายล้านคนเพียงครั้งเดียว และต้องมี จานดาวเทียมหรือกล่องรับที่ต้องเชื่อมต่อไว้กับโทรทัศน์เพียงอย่างเดียว ทำให้เกิดข้อจำกัดต่างๆในการรับชมรายการที่ชื่นชอบ ซึ่งต่างจากการรับชมทีวีผ่านเทคโนโลยี ไอพี สตรีมมิ่ง อย่างมาก โดยข้อดีของเทคโนโลยีไอพี สตรีมมิ่ง คือ
1. เปิดรับความบันเทิงได้สะดวกสบายกว่าที่เคย เพียงผู้ใช้งานดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นไว้บนอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทั้งแบบผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์จากที่บ้าน หรือเชื่อมต่อภายนอกผ่านระบบ WiFi หรือจากระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเลต ทั้งในระบบ iOS และแอนดรอยด์ หรือคอมพิวเตอร์ก็สามารถรับชมรายการที่ต้องการได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลา ทั่วโลก อีกทั้งยังสามารถรับชมรายการได้พร้อมกันบนแฟลตฟอร์มที่หลากหลาย (Any Where Any Time) ไม่ต้องกังวลว่าคุณจะพลาดข่าวสารสำคัญเช่นที่ผ่านมา
2. ไม่เปลืองพื้นที่จัดเก็บข้อมูล เพราะระบบไอพี สตรีมมิ่งเป็นการรับชมรายการแบบเรียลไทม์เสมือนกำลังนั่งดูรายการทางทีวีปกติ เพียงแต่เป็นการบีบอัดสัญญาณภาพและเสียงแล้วจึงค่อยส่งผ่านไปยังอุปกรณ์ที่คุณเลือกรับชมอีกครั้ง อีกทั้งยังไม่ต้องรอดาวน์โหลด ทำให้ไม่เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์อีกด้วย
3. เชื่อมต่อข้อมูลและแพร่ภาพบนเครือข่ายบรอดแบนด์คุณภาพ ทำให้เกิดความเสถียรในระดับสูง หลักการทำงานของไอพี สตรีมมิ่งคือการรับข้อมูลจากผู้ให้บริการหรือช่องทางที่ทำการถ่ายทอดรายการต่างๆ นำมาจัดสรรและจำแนกหมวดหมู่ไว้ยังเซิร์ฟเวอร์ แล้วจึงค่อย สตรีมมิ่งสัญญาณออกไปที่ CDN (Content Distribution Network) แล้วจึงส่งสัญญาณภาพที่ได้รับการแปลงเรียบร้อยไปสู่ผู้ชม โดยขั้นตอนการสตรีมมิ่งภาพและเสียงจะทำผ่านระบบอินเตอร์เน็ตไปสู่ผู้ชม ซึ่งหลายท่านอาจสงสัยว่าจะเกิดการสะดุดระหว่างรับชม เหมือนการรับชมทีวีออนไลน์หรือไม่ ในฐานะที่ ซิมโฟนี่ฯเป็นเจ้าของโครงข่ายบรอดแบนด์และบริการแพลตฟอร์มสำหรับการทำไอพี สตรีมมิ่งอย่างครบวงจร ทำให้การรับส่งสัญญาณภาพและเสียงเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่ติดขัด อีกทั้งยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล ประเมินผลและหาวิธีลดความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เนตทั้งระบบตลอด24 ชั่วโมง พร้อมประกันการบริการด้วยมาตรฐานในระดับสูงที่กลุ่มลูกค้าเราพึงพอใจ รวมถึงเรื่องราคาที่สมเหตุสมผลกับประสิทธิภาพของบริการที่ลูกค้าได้รับอีกด้วย
4. คมชัดทั้งภาพและเสียงตามอุปกรณ์ที่ผู้ใช้งานเลือกใช้ นอกจากความสะดวกสบายที่ได้กล่าวไปแล้ว ระบบไอพี สตรีมมิ่งได้รับการพัฒนาให้มีระบบตรวจจับความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่ใช้รับชม ซึ่งถ้าความเร็วไม่มาก ระบบจะปรับความละเอียดของภาพให้ลดลงเพื่อจะได้รับชมอย่างต่อเนื่อง และหากอินเทอร์เน็ตที่ใช้มีความเร็วสูง ระบบจะปรับความละเอียดของภาพให้เป็นไฮเดฟฟิเนชั่น (HD) ทำให้ผู้ชมสามารถรับชมได้อย่างเพลิดเพลินยิ่งขึ้น
5. รับชมรายการได้อย่างเต็มอรรถรสด้วยช่องรายการที่หลากหลาย เพราะการส่งข้อมูลภาพและเสียงเป็นการส่งผ่านเว็บบราวเซอร์ในระบบอินเทอร์เน็ตด้วยการแชร์แบนวิดธ์ (Bandwidth) ขนาดใหญ่ ทำให้ผู้ให้บริการสามารถสร้างสรรค์รายการให้มีความหลากหลายได้มากขึ้น ทั้งจำนวนรายการและรูปแบบที่ทันสมัย พร้อมด้วยเนื้อหาสาระที่ตรงกับความสนใจและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในยุคดิจิตอลมากยิ่งขึ้น โดยในปัจจุบัน พีเอสไอที่ใช้เทคโนโลยีไอพี สตรีมมิ่ง ก็ได้เปิดให้บริการช่องรายการกว่า 143 ช่องให้ผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารได้เลือกชมกันอย่างจุใจเลยทีเดียว
ณ วันนี้ “ไอพี สตรีมมิ่ง” ถือได้ว่าเป็นมิติใหม่ที่ทำให้ผู้คนที่เปรียบเสมือนนักบริโภคข่าวสารสามารถติดตามเนื้อหาสาระ ความบันเทิงต่างๆ ได้มากขึ้น โดยไม่จำกัดในเรื่องของเวลาและสถานที่ อีกทั้งยังมีบทบาทในการกระตุ้นตลาดบรอดคาซท์ให้เกิดการแข่งขันด้านข้อมูล เพื่อที่จะตอบสนองไลฟ์สไตล์และความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังช่วยขับเคลื่อนทางธุรกิจในทุกภาคส่วน เช่น ธุรกิจผู้ให้บริการคอนเทนท์ ธุรกิจด้านโครงข่ายโทรคมนาคม เป็นต้น ซึ่งส่งผลดีต่อผู้บริโภคที่จะได้มีตัวเลือกที่ดีที่สุดในการรับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายเพิ่มขึ้นในอนาคต
ที่มา – อีเมลประชาสัมพันธ์